บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
กรอบแนวคิดการเรียนรู้ในห้องเรียนกลับด้านร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
A Conceptual Framework of Flipped Classroom Techniques Model with Collaborative Learning Techniques on Social Media |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
อ.วินัย เพ็งภิญโญ , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนกลับด้านร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่สังเคราะห์ขึ้นจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กระบวนการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนกลับด้านร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 2) ประเมินผลของรูปแบบที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีการเทคนิคเดลฟาย โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ซึ่งมาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยที่ได้คือ 1รูปแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนกลับด้านร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคเดลฟาย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 5 โมดูล 1) โมดูลห้องเรียนกลับด้าน 2) โมดูลผู้เรียน 3) โมดูลสื่อสังคมออนไลน์ 4) โมดูลการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5) โมดูลการประเมินผลการเรียนรู้ และ 2) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 10 คน ให้การยอมรับกรอบแนวคิดที่สังเคราะห์ขึ้นว่ามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.40, S.D. = 0.52) สรุปได้ว่าสามารถนำรูปแบบการเรียนรู้ที่สังเคราะห์ขึ้นไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ห้องเรียนกลับด้าน ,การเรียนรู้แบบร่วมมือ,เครือข่ายสังคมออนไลน์ |
Abstract |
The objective of this research were to 1) synthesized Conceptual Framework of Flipped Classroom Techniques Model with Collaborative Learning Techniques on Social Media,
2) evaluate the synthesized research methodology consisted of 2 steps as follows: 1) synthesis of Conceptual Framework of Flipped Classroom Techniques Model with Collaborative Learning Techniques on Social Media using Delphi Technique from 10 experts, and 2) empirical evaluation of the synthesized model by 10 experts. The samples used in this research was 10 experts using purposive sampling. The data was analyzed mean and standard deviation.
The result showed that 1) Conceptual Framework of Flipped Classroom Techniques Model with Collaborative Learning Techniques on Social Media from Delphi Technique that consisted of 5 modules as 1) Flipped Classroom Module 2) Student Module 3) Social Media Learning Module 4) Collaborative Learning Module 5)Evaluation Module and 2) the results of the synthesized model on empirical evaluation by experts showed that they accepted the model in very good level (X̅ = 4.40, S.D. = 0.52). In conclusion, that can be used the synthesized conceptual framework properly.
|
Keyword |
Flipped Classroom,Collaborative Learning,Social Media |
กลุ่มของบทความ |
คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|