บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าจกสะแกราย ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Intellectual Conservation Guidelines for the Weaving of Jok Sakae Rai, Don Yai Hom Subdistrict, Mueang District, Nakhon Pathom Province
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวสิทธิ์สีนี อินทร์ไพร , นางสาวระรินพร แหลมสุวรรณกุล, นางสาวชญาณ์นันท์ แก้วทองพันธ์, นางสาวศรัญญา พุ่มตาก้อง, นายเอกคณิสร์ ล้วนแก้ว,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าจกสะแกราย สาเหตุการเปลี่ยนแปลงของภูมิปัญญาการทอผ้าจกสะแกราย และแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าจกสะแกราย ผลการวิจัยพบว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านสะแกราย ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ร้อยละ 95 เป็นผู้ที่มีเชื้อสายไทยทรงดำ โดยการทอผ้าจกสะแกรายนี้ถือเป็นการทอผ้าสำหรับสวมใส่ในการดำเนินชีวิตและการประกอบพิธีกรรมต่างๆของชาวไทยทรงดำ ซึ่งลวดลายผ้าที่มีเอกลักษณ์ประจำของชาวไทยทรงดำ คือ ผ้าลายแตงโม ซึ่งในปัจจุบันความทันสมัยของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ขาดคนรุ่นใหม่ในการสืบทอดภูมิปัญญา อย่างไรก็ตามยังมีบุคคลที่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาการทอผ้าจกสะแกราย จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้ากี่กระตุกบ้านสะแกรายขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าจกสะแกรายให้คงอยู่สืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง และเป็นการพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาสำหรับผู้ที่สนใจศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาการทอผ้าจกและวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวไทยทรงดำอีกด้วย 
 คำสำคัญภาษาไทย อนุรักษ์, ภูมิปัญญาการทอผ้า, ผ้าจกสะแกราย
 Abstract
This article aims to explore the conservation for the weaving of Jok Sakae Rai, the causes of changes in the conservation for the weaving of Jok Sakae Rai, and the intellectual conservation guidelines for the weaving of Jok Sakae Rai. The result of the research shows that 95% of people who living in Sakae Rai village Don Yai Hom Sub-district, Muang District, Nakhon Pathom Province are Thai Song Dam lineage by this Jok Sakae Rai weaving is considered to be the weaving cloth for wearing in the lifestyles and rituals of the Song Dam people. The pattern of the fabric that is unique to Thai Song Dam people is watermelon pattern. In currently, the modern technology and economic change resulting in the lack of a new generation of inheritance of conversation. However, some people appreciate the value of the weaving Jok Sakae Rai. Therefore they were established a Weaving loom Sakae Rai community enterprise group to be the intellectual conservation guidelines for the weaving of Jok Sakae Rai for the next generations in the future. And it is a local development as a source of knowledge for people who interested in learning about the intellectual of the weaving Jok Sakae Rai and the dress culture of the Thai Song Dam people as well.
 Keyword Conservation, Intellectual for the weaving, Jok Sakae Rai cloth
 กลุ่มของบทความ ปรัชญา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563