บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเครือข่ายที่ 35 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) TEACHERS’ MOTIVATION TO THEIR ROLE IN NETWORK SCHOOL 35, LADKRABANG DIDTRICT BANGKOK
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางภาวินี อินกอ ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเครือข่ายที่ 35 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเครือข่ายที่ 35 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนเครือข่ายที่ 35 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) และใช้การกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 40 ข้อ ตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6-1.0 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.23-0.70 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach ได้ค่า 0.935 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ตามวิธีของ Scheffé (Scheffé’s posthoc comparison) ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเครือข่ายที่ 35 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม และรายด้าน พบว่า มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเจริญก้าวหน้า และด้านความสำเร็จของงาน และด้านที่ค่าเฉลี่ยระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการยอมรับนับถือ และด้านลักษณะของงาน 2) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม และรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานต่างกันมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบ ส่วนครูที่มีประสบการณ์สอนต่างกันมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้าน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ไม่พบความแตกต่าง ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ได้แก่ ด้านลักษณะของงาน และด้านความเจริญก้าวหน้า
 
 คำสำคัญภาษาไทย แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ครูผู้สอน, โรงเรียนเครือข่ายที่ 35
 Abstract
The purpose of this research is to 1) study the levels of teachers’ motivation to their role in network schools35, Ladkrabang District Bangkok 2) compare the motivations of teachers of network school 35 according to class levels and teachers’ experience. The subject of the study are the teachers in network school 35 Ladkrabang District Bangkok, in the 2019 academic year. The subjects are obtained by Stratified Sampling and using the control group according to Krejcie and Morgan’s framework.  There is a total of 132 subjects.The methodology that is used in the research is the questionnaire consisting of 40 questions. The accuracy of IOC is at 0.6-1.0. The accuracy of the classification per question is at 0.23-0.70 and the alpha coefficient rate according to Cronbach is at 0.936. The statistical analysis that were used were the T-test and One-way ANOVA. After the differences were found, Scheffé: Scheffé’s posthoc comparison was also used to obtain data. The research elicited the results: 1) The levels of teachers’ motivation to their role in network schools 35, Latkrabang District Bangkok, is at highest levels according to the three faceted observations from most to least. Responsibility ranked the highest, followed by progress and the third is job successfulness. The facet of motivation that was measured as high were, respect and job description, respectively. 2) Teachers with different qualifications had a significant difference in motivation by 0.5 statistically (according to t-test). 3) Teachers with different experiences also had marked differences by 0.5 (according to f-test) in the success of their roles, respect, and responsibility. However, in terms of job descriptions and progress, no differences were observed which contradicts the hypothesis presented.
 Keyword Motivation, Teachers’, Network School 35
 กลุ่มของบทความ บริหารการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563