บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การวิเคราะห์สัณฐานวิทยาของลุ่มน้ำบางปะกงโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Morphological Analysis of Bangpakong Watershed using Geo-Informatics Technique |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
ผศ.ดร.เศวตฉัตร ศรีสุรัตน์ , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัณฐานวิทยาของลุ่มน้ำบางปะกงโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศด้วยเทคนิคของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ร่วมกับข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล ทำการวิเคราะห์สัณฐานวิทยาของลุ่มน้ำบางปะกงและลุ่มน้ำสาขา เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในพื้นที่บริเวณอื่นต่อไปและเป็นประโยชน์ต่อของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยการวิเคราะห์พารามิเตอร์สัณฐานวิทยาของลุ่มน้ำใน 3 ประเด็นคือ ด้าน Linear Aspect เช่นความยาวลำธารและความยาวของการไหล ด้าน Areal Aspect เช่นความหนาแน่นของการระบายน้ำ ความถี่การไหลหรือความถี่ของลำน้ำ ฟอร์มแฟคเตอร์และพื้นผิวของการระบายน้ำ และด้าน Relief Aspect เช่นอัตราส่วนการแยกไปสองทางและอัตราส่วนความเป็นทรงกลมของลุ่มน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ความยาวรวมของลำน้ำทุกส่วนจะลดลงในขณะที่อันดับธารเพิ่มขึ้น ความยาวของการไหลของลุ่มน้ำต่ำมีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งและอุทกภัยค่อนข้างสูง ความหนาแน่นของการระบายน้ำหยาบ พื้นที่ลุ่มน้ำส่วนใหญ่มีระดับความสูงและความชันไม่มาก ความสามารถในการซึมน้ำของดินมีสูง ความถี่การไหลต่ำมีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง และอุทกภัยค่อนข้างสูง ฟอร์มแฟคเตอร์มีค่าใกล้กับ 0 บ่งชี้ว่าลุ่มน้ำจะมีการไหลของน้ำสูงสุดแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเวลานาน น้ำจะค่อยๆ ไหลเอ่อท่วม ไม่ใช่น้ำท่วมแบบฉับพลัน การไหลของน้ำท่วมในลุ่มน้ำแบบรูปทรงยาวสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าลุ่มน้ำแบบรูปทรงวงกลม พื้นผิวของการระบายน้ำหยาบมากบ่งบอกถึงภูมิประเทศที่ความสูงของภูเขาและลำน้ำอยู่ห่างกันมากอัตราส่วนการแยกไปสองทางมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานซึ่งหมายถึง โครงสร้างทางธรณีสัณฐานของลุ่มน้ำถูกรบกวน และท้ายที่สุดอัตราส่วนความเป็นทรงกลมของลุ่มน้ำมีค่าต่ำ เข้าใกล้ 0 จึงมีรูปร่างเป็นทรงกลมน้อย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย น้ำท่วมขัง กินระยะเวลาช่วงสั้นๆ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การวิเคราะห์สัณฐานวิทยา, พารามิเตอร์สัณฐานวิทยา, ภูมิสารสนเทศ |
Abstract |
The objective of this study was to analyze the morphology of the Bangpakong watershed using geo-informatics (geographic information system and remote sensing). Morphological analysis of the Bangpakong Basin and the watershed branches were carried out. To be a guideline for further study in other areas and for the benefit research of relevant government agency.
By analyzing the morphological parameters of watershed in 3 main criteria which were Linear Aspect such as stream length and Length of overland flow, Areal Aspect such as drainage density, stream frequency, form factors, drainage texture and Relief Aspect such as bifurcation ratio and Circulatory ratio. The study found that the total length of all sections of the stream reduced while stream order was increased. The risk of drought and flood was quite high because of the value of stream length is low. Coarse drainage density resulted of relief and slope of watershed area was gentle. The ability of water infiltration in the soil was high. The stream frequency was low so the risk of drought and flood was quite high. The form factor was close to zero, it indicated that the watershed had a gradual maximum water flow for a long time. Flood occurred slowly flow over and over, not flashy flood. Flood in the elongated shape watershed was easier to control than the circular shaped watershed. The drainage texture was very coarse, it indicated the mountainous relief and the channels were very far from each other. The bifurcation ratio is lower than the standard this indicated the more structural disturbance. Finally, the circularity ratio value was low (approach to zero), which indicated that the watershed was not circular in shape, therefore causing a risk of short-term flood.
|
Keyword |
Morphometric analysis, Morphometric parameters,Geo-Infomatics |
กลุ่มของบทความ |
วิทยาศาสตร์กายภาพ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|