บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ประสิทธิผลของกิจกรรมการดูแลฉุกเฉินในกลุ่มผู้สูงอายุที่โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Effectiveness of emergency care activities among older people at the Elderly Schools, Maekha Sub-district Phayao Province
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) ผศ.ดร.ทวีวรรณ ศรีสุขคำ , อ.พญ.กิตติยา ไทยธวัช, อ.อรทัย เกตุขาว, อ.สุนันทา ตั้งนิติพงศ์, อ.พญ.เพ็ญนิภัท นภีรงค์, อ.พญ.ณัฏฐินี นันทาทอง,
 บทคัดย่อภาษาไทย
  การเกิดขึ้นของสังคมผู้สูงอายุทำให้วัดทางศาสนาต้องปรับเปลี่ยนบทบาทในการเป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ  การจัดกิจกรรมด้านสุขภาพฉุกเฉินให้ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น  การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมการดูแลฉุกเฉินกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดพะเยา  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลแม่กาจำนวน 26  คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม 3) แบบตรวจสอบการปฏิบัติ 3กิจกรรมการดูแลฉุกเฉินเวลาที่ใช้ ชั่วโมง ประกอบด้วย การบรรยายคลิป แผ่นพับ การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  สถิติวิเคราะห์เป็นสถิติเชิงพรรณนา และ paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมคะแนนเฉลี่ยของความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและความรู้และการปฐมพยาบาล หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.000) โดยเพิ่มขึ้นจาก  9.34, 5.90 คะแนน เป็น 11.19 และ 11.20 คะแนน  และยังพบว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและทักษะการปฐมพยาบาลทุกคน ผลการศึกษาสามารถนำ ที่กิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึงกัน
 คำสำคัญภาษาไทย การดูแลฉุกเฉิน,ผู้สูงอายุ,โรงเรียนผู้สูงอายุ
 Abstract
The aging society lead to the Buddhist Monasteries established the elderly schools.     The health care activities are the best way for aging people in the elderly schools.  This research design was the one group pretest-posttest design aimed to study the effects of “Emergency care Activities” among older people at the Elderly Schools, Phayao Province.  Sample were twenty-six aging people at the elderly school in Makha Subdistrict,  selected by purposive sampling as inclusion criteria.  Instruments were 1) the test for pretest and post-test 2) the practical check-list  and 3) Eight hours of emergency care activities  which consisted of; two hours of lectures, self-learning from pamphlets; six hours of demonstration and practicing regarding BLS and First AidData were analyzed by descriptive statistics and paired t-test. 
The study showed that after finished program, the knowledge mean score of BLS and First Aid reveled statistically significant increase at p-value < 0.000 from 9.34 and 5.90 to 11.19, and 11.20.  Besides, this study revealed that after intervention all samples practiced basic BLS and  First Aid. This study should be taken this program to apply using for the another area which were similar as this study.
 Keyword emergency care,older people,the elderly school
 กลุ่มของบทความ การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563