บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย เทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของสถานประกอบการขนาดเล็กในจังหวัดสงขลา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Digital Technology for Increasing Human Resource Management Efficiency of Small Establishments, Songkhla Province.
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) ผศ.ดร.สายฝน ไชยศรี ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของสถานประกอบการขนาดเล็กในจังหวัดสงขลา ตามประเภทธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้า และธุรกิจบริการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงหรือค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ทั้งฉบับ คือ .805 ทำการศึกษานายจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็ก จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 ผลการวิจัยพบว่า สถานประกอบการขนาดเล็กมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับปานกลาง (x̄=2.84) ทั้งในงานบริหาร งานพัฒนา งานสรรหาคัดเลือก และงานค่าตอบแทน โดยเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการนำมาใช้มากที่สุด คือ ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) และเว็บไซต์ (Website) ในการรับสมัครงาน (x̄=4.25) รองลงมาคือ ใช้ User Experience (UX/UI) สร้างประสบการณ์และโอกาสให้พนักงานได้ใช้ดิจิทัลทำงาน เช่น ระบบการลางาน online  รับ-ส่งหนังสือด้วย E-doc ตารางการทำงาน online (x̄=4.18) และใช้ Digital Application เพื่อติดต่อ ประสานงาน ประชุม สื่อสารระหว่างพนักงานด้วยกันและในการทำงานร่วมกันของพนักงานข้ามฝ่าย (x̄=3.98) ตามลำดับ ระดับประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อยู่ในระดับมาก (x̄=3.58)  โดยด้านเวลาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄=4.01) รองลงมาคือ ด้านคุณภาพ (x̄=3.40)  และด้านปริมาณ (x̄=3.32)  อยู่ในระดับปานกลาง และลักษณะกิจการ มีค่าเฉลี่ยระดับประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    
 
 คำสำคัญภาษาไทย เทคโนโลยีดิจิทัล, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิภาพ, จังหวัดสงขลา
 Abstract
The objective of this study is to study the efficiency of using digital technology in human resource management of small establishments in Songkhla Province by business type such as manufacturing, commercial and service. The study adopted a quantitative research using a questionnaire that the reliability of coefficient alpha was .805 with 400 employer. The statistics used in data analysis are mean, percentage and one-way ANOVA at a statistical significance level of 0.5. The results was found that
the small establishments used digital technology for human resource management at a medium level (x̄ = 2.84),  in administration, development, recruitment/selection and compensation tasks.  The most commonly applied digital technology is social networks and websites for job applications (x̄ = 4.25), followed by  User Experience (UX / UI) to create experiences and Opportunities for employees to use digital work such as : online leave system, send and receive document by E-doc, online work schedule (x̄ = 4.18) and Digital Application to coordinate meetings, communicate between employees together and to work across departments (x̄ = 3.98), respectively. The effective management of human resources obtained from digital technology used is high level (x̄ = 3.58)  by time efficiency had the highest average (x̄ = 4.01), followed by quality efficiency  (x̄ = 3.40) and quantity efficiency (x̄ = 3.32) at a medium level. And business type  are mean levels of efficiency in human resource management different. Statistical significance at the level of .05
 Keyword Digital Technology, Human Resource Management, Efficiency, Songkhla Province
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563