บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The development of Web – based instruction on Computer Science Subject with Problem – based Learning technique to improve Year 10 students' computational thinking skill.
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวมัญชิมา เถื่อนสุคนธ์ , อ.ดร.ธันว์รัชต์ สินธนะกุล,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) หาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4) พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวินิตมัธยม ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 34 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากเป็นห้องเรียน จำนวน  1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบไปด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบประเมินคุณภาพบทเรียน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณ และแบบประเมินความพึงพอใจ 
    ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.82/80.15 ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 การประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณผู้เรียนคิดเป็นร้อยละ 82.66 อยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก (  \bar{X}= 4.48, S.D. = 0.64)
 คำสำคัญภาษาไทย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการคิดเชิงคำนวณ
 Abstract
The Objectives of this research were:  1) to develop Web-based instruction 2) to find the efficiency of Web-based instruction 3) to compare the students’ learning achievement before and after learning with Web-based instruction. 4) to develop the students’ computational thinking skills and 5) to study the students' satisfaction towards using Web-based instruction. The Sample group, selected using Simple Random Sampling by drawing out 1 classroom, was 34 students of Rajavinit Mathayom school, studying computational science in the 2nd semester of academic year 2019. The research instrument consisted of Web-based Instruction, lesson quality evaluation form, pre-test/post-test, computational thinking skills evaluation form, and satisfaction evaluation form. 
    The finding indicated that the efficiency of the web-based Instruction was 83.82/80.15, the average of post-test score was higher than the average of pre – test score at a statistical significance level .05. The students’ computational thinking skills was in a very good level (82.66%) and the assessment showed a high level of the learners’ satisfaction
 Keyword Web-based Instruction, Problem-based learning, computational thinking skill
 กลุ่มของบทความ คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563