บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย สภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) States and Guidelines for Developing Teachers’ Competency in Small-sized Schools under Primary Educational Service Area Office 2
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางเพ็ญประกาย สุขสังข์ ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาสภาพสมรรถนะประจำสายงานครู 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะประจำสายงานครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 327 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.970 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (Independent Sample t-test) และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบสภาพสมรรถนะประจำสายงานครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนในด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 
 คำสำคัญภาษาไทย สมรรถนะประจำสายงานครู,สถานศึกษาขนาดเล็ก
 Abstract
The objectives of this study were 1) to examine the states of teachers’ competency, 2) to compare teachers’ competency according to work experience; and 3) to investigate guidelines for developing teachers’ competency in small-sized schools under Primary Educational Service Area Office 2. The samples were 327 school administrators and teachers which were determined by using Krejcie and Morgan’s table and then simple random sampling by using lottery method was implemented. The research instruments were questionnaire with the reliability level of 0.970 and semi-structure interview which was implemented with 9 experts chosen by purposive sampling. The collected data from the questionnaire were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and Independent sample  t-test and the data gained from the semi-structure interview were analyzed by content analysis. The results suggested that 1) states of teachers’ competency in small-sized schools under Primary Educational Service Area Office 2 were at a high level in overall aspect, 2) comparison of teachers’ competency according to work experience was not different in each and overall aspect and 3) guidelines for developing teachers’ competency in small-sized schools were that school administrators should encourage teachers in terms of learning management, learners’ development, administration and conducting action research for learners’ development.
 Keyword Teachers’ Competency,Small-sized Schools
 กลุ่มของบทความ บริหารการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563