บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายสำหรับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Factors Affecting Willingness to Pay for Geographical Indication Certification of Sangyod Mueang Phatthalung Rice |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวมณฑกาญจน์ บุญเพิ่มผล , ผศ.ดร.ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง โดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคข้าวในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยแบบโลจิสติกส์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 37.5 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ยต่อเดือน 41,250.81 บาท ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มักรับประทานข้าวโดยทั่วไป 3 มื้อต่อวัน ซื้อข้าวสารบรรจุถุง 1 ครั้งต่อเดือน และโดยส่วนใหญ่ซื้อที่ร้านค้าทั่วไป ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างยังไม่รู้จัก ไม่เคยรับประทาน หรือซื้อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงหรือข้าวที่ผ่านการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มาก่อน ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยแบบโลจิสติกส์ พบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเต็มใจจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ปัจจัยการให้ความสำคัญกับฉลากรับรองมาตรฐานโดยภาครัฐ และการให้ความสำคัญต่อการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทย ดังนั้น จึงควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับฉลากรับรองมาตรฐานโดยภาครัฐและการช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทย ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง, ความเต็มใจจ่าย |
Abstract |
The main purpose of this study was to investigate factors affecting willingness to pay for geographical indication certification of Sangyod Mueang Phatthalung Rice by randomly surveying 400 rice consumers in Bangkok Metropolitan Region. The results revealed that the subjects were mostly females, 37.5 years old on average, single status, Bachelor’s degree or equivalent, and had average income of 41,250.81 baht per month. The behaviors of subjects mostly had rice three times per day and buy packed rice once per month at general stores. Most of the subjects had not previously known, tried or bought Sangyod Mueang Phatthalung or Geographical Indication certified rice. Results analyzed with logistic regression showed that factors positively affecting geographical indication certification of Sangyod Mueang Phatthalung Rice at a significant level of 0.01 were: placing importance on labeled certified by government agency and placing importance on increasing Thai farmers’ income. Therefore, communicating labels certified by government agency and being able to increase Thai farmers’ income should be emphasized to target consumers.
|
Keyword |
Geographical Indication Certification,Sangyod Mueang Phatthalung Rice,Willingness to Pay |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|