บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาตำรับยาน้ำมันมหาจักรในรูปแบบไมโครอิมัลชัน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Development of Mahajak Oil as Microemulsion‑based Preparation
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.วลัยลักษณ์ พรผล ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
         น้ำมันมหาจักรในตำราพระโอสถพระนารายณ์เป็นตำรับยาที่ใช้ภายนอก มีการรวบรวมบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่ได้มีการพัฒนาตำรับยาให้มีประสิทธิภาพทั้งทางกายภาพและชีวภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับน้ำมันมหาจักรในรูปแบบไมโครอิมัลชันซึ่งเป็นระบบนำส่งยาที่สามารถเพิ่มการดูดซึมของตัวยาผ่านผนังเมมเบรน และผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมตำรับไมโครอิมัลชันผสมน้ำมันมหาจักรจากการสร้างแผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม ศึกษาผลของวัฎภาคน้ำมัน สารลดแรงตึงผิว และวัฏภาคน้ำ หาอัตราส่วนไมโครอิมัลชันที่มีความใสโปร่งแสง ไม่แยกชั้นบนพื้นที่แผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม และวัดขนาดของอนุภาค รวมทั้งศึกษาทางกายภาพของตำรับโดยการวัดความเป็นกรด-ด่าง และความหนืด พบว่าสูตรตำรับไมโครอิมัลชันประกอบด้วยน้ำมันมหาจักรผสมน้ำมันเปปเปอร์มินต์ (1:1) : Tween 80 : น้ำ ในอัตราส่วน 6 : 1 : 3, 6 : 2 : 2 และ 5 : 4 : 1 มีลักษณะใส ไม่แยกชั้น มีปริมาณสารลดแรงตึงผิวค่อนข้างน้อย ขนาดของอนุภาคเป็นไมโครอิมัลชันมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.60 ± 0.00, 16.70 ± 0.20 และ19.90 ± 0.10 นาโนเมตร ตามลำดับ ความหนืดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 109.3 - 5149.43 cP  และค่า pH เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 6.02 - 6.39 เหมาะสมกับสภาพผิวปกติ เป็นสูตรไมโครอิมัลชันที่คุณสมบัติดี สามารถพัฒนาเป็นตำรับไมโครอิมัลชันผสมน้ำมันมหาจักรรูปแบบใหม่ที่น่าใช้ มีประสิทธิภาพมาก พกพาได้สะดวกและเก็บรักษาตำรับยาง่าย
 คำสำคัญภาษาไทย น้ำมันมหาจักร,น้ำมันเปปเปอร์มินต์ ,ไมโครอิมัลชัน
 Abstract
              Mahajak oil is the seventy-eighth Thai medicinal formulary listed in the Narayana Pharmacopeia. However, the formulary is obsolete and has not been further developed since Ayutthaya period; therefore, this research aims to (1) develop the Mahajak oil as microemulsion-based preparation, which might help promote skin and membrane absorption; (2) prepare microemulsion-based formulations using pseudo-ternary phase diagram; (3) evaluate the effects of oil, surfactant, and water phase on the physicochemical properties of the formulations; (4) find translucent and miscible formulations; and (5) evaluate particle size distribution, physicochemical property, pH, and viscosity of each formulation. The results showed that formulations consisted of Mahajak oil mixed with peppermint oil, Tween 80, and deionized water at ratios of 6:1:3, 6:2:2, and 5:4:1 are translucent and miscible. The particle sizes of each selected microemulsion are 12.60 ± 0.00, 16.70 ± 0.20, and 19.90 ± 0.10 nm, respectively. Their viscosity and pH values are between 109.3-5149.43 cP and 6.02-6.39. These formulations are considered suitable for human skin. The developed microemulsion-based formulations have promising physicochemical properties and could be further developed as a new Mahajak oil formulary, which could have been more effective, more approachable, and more manageable.
 Keyword Mahajak oil ,Peppermint oil,Microemulsion
 กลุ่มของบทความ ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563