บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้งในจังหวัดนครปฐม |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Satisfaction with the marketing mix of mobile banking users in Nakhon Pathom Province |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
อ.ดร.พงษ์สันติ์ ตันหยง , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้งในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้งในจังหวัดนครปฐมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้งในจังหวัดนครปฐม ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านราคาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับมาก ด้านผลิตอยู่ในระดับมาก ด้านส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการได้แก่ อายุ อาชีพ สถานภาพ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกันทำให้ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้งในจังหวัดนครปฐมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศและการศึกษาแตกต่างกันทำให้ความพึงพอใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ความพึงพอใจ,ส่วนประสมทางการตลาด ,โมบายแบงค์กิ้ง |
Abstract |
The objectives of this research were 1) to study the level of satisfaction with the marketing mix of mobile banking users in Nakhon Pathom Province 2) to compare satisfaction with the marketing of mobile banking service users in Nakhon Pathom Province According to personal factors This research used the quantitative research methodology. The results showed that satisfaction level with the marketing mix of mobile banking users in Nakhon Pathom Province In overall, it was found that it was at a high level. When considering each aspect, it was found that the price was at the highest level. The distribution channels are in a high level. Production level is in a high level. The marketing promotion aspect is at a high level. Personal factors of the users such as age, occupation, status, and monthly income are different, resulting in satisfaction with the marketing mix of mobile banking users in Nakhon Pathom Province with statistically significant differences. Gender and education were different, resulting in satisfaction not significantly different.
|
Keyword |
Satisfaction,Marketing mix,Mobile banking |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|