บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ไมโครบิท สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทวารวดี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Development of e-Learning with CIPPA Model on Micro:bit for Grade 10 Students of Tawarawadee School |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นายวสันต์ อำพลพงษ์ , อ.ดร.ปถมาภรณ์ ไทยโพธิ์ศรี, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ไมโครบิท สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทวารวดี 2) เพื่อประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิต 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบ ซิปปา (CIPPA Model) และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทวารวดี ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าสถิติ (Dependent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอีเลิร์นนิง ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 3 ตอน ได้แก่ 1.1) รู้จักกับ Micro:bit 1.2) สร้างเกมด้วย Micro:bit และ 1.3) การสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ 2) ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพบทเรียนอีเลิร์นนิง พบว่า ด้านเนื้อหามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( =4.93, S.D.=0.12) และด้านเทคนิคการผลิตมีความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด ( =4.85, S.D.=0.18) 3) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจหลังเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.53)
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
บทเรียนอีเลิร์นนิง ,การเรียนรู้แบบซิปปา ,ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
Abstract |
The purposes of this research study were: 1) to develop e-Learning with CIPPA model on Micro:bit for grade 10 students of Tawarawadee school, 2) to evaluate quality of content and production techniques, 3) to compare pretest and posttest score, and 4) to study students’ satisfaction. The sample in this research study consisted of 30 students in grade 10 of Tawarawadee school. The purposive selection method was used. The research instruments included e-Learning, quality of content and production techniques evaluation from, learning achievement test, and satisfaction questionnaire. Data were analyzed using mean ( ), standard deviation (S.D.) and dependent t-test.
The research findings were as follows: 1) the e-Learning was comprised of three parts: 1.1) Introduction to Micro:bit, 1.2) Create game by Micro:bit, and 1.3) Communication via radio wave, 2) the experts agreed on the e-Learning quality of content at a very high level ( =4.93, S.D.=0.12) and the e-Learning quality of production techniques at a very high level ( =4.85, S.D.=0.18), 3) the posttest score was significantly higher than the pretest score at .05 level, and 4) students were satisfied after learning with the e-Learning at a very high level ( = 4.53, S.D. = 0.53).
|
Keyword |
e-Learning,CIPPA model,learning achievement |
กลุ่มของบทความ |
คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|