บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Mental Health Promotion Program according to local wisdom in Thung Khwang elderly club, Kamphaengsaen Nakhon Pathom
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.ดร.ภารณี นิลกรณ์ ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นในชมรมผู้สูงอายุ และเพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุในชมรมผู้สงอายุ ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 60 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย ที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อม อาศัยอยู่ในชุมชน และมีภูมิลำเนาใน ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experiment) ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เครื่องมือการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์การเปรียบเทียบ Post - test only control group design เป็นแบบวิจัยที่มีการสุ่มกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แต่ทดสอบหลังการทดลองอย่างเดียว จากการศึกษาพบว่าการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ( X= 22.33) ทักษะการจัดการความเครียด (  x= 22.37) การเห็นคุณค่าในตนเอง ( x= 22.07) และการได้รับการสนับสนุนจากสังคมและหน่วยงาน ( x= 22.53) ซึ่งพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอนะสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ควรมีการนำกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในพื้นฐานที่อื่น ๆ ต่อไป
 คำสำคัญภาษาไทย สุขภาพจิต ,ผู้สูงอายุ,ภูมิปัญญาท้องถิ่น
 Abstract
This research aims to study Mental Health Promotion Program according to local wisdom in Thung Khwang elderly club Kamphaengsaen Nakhon Pathom The sample used in the study was the elderly in the age group. Both male and female among 60 person were divided into experimental groups 30 person and control groups 30 person. Without dementia Live in the community And domicile Thung Khwang   Kamphaengsaen   Nakhon Pathom Province I can help myself. A sample This research is a quasi-experimental research (quasi experiment) by means of data collection by questionnaire. (Questionnaire) Statistics used in data analysis are based on basic statistical analysis tools. Post-test only control group design .The experimental group was randomly assigned to the control group and the experimental group. The result of this study were found that the comparison of knowledge about the change in the elderly ( x= 22.33) stress management skills ( x= 22.37) Self-esteem ( x= 22.07) and receiving support from society and agencies ( x= 22.53). It was found that after the experiment, the experimental group gained more knowledge. The suggestion for this study were additional activities should be implemented to increase the effectiveness of the program and there should be further studies in other areas
 Keyword Mental health, elderly, Local wisdom
 กลุ่มของบทความ สาขาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563