บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากน้ำยางของพญาสัตบรรณ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Chemical Constituents and Antioxidant Activity of the Alstonia scholaris Latex Extract |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นายจักรพงษ์ กาวิวงศ์, นางสาวอรุณี อินทร์จาด, นางสาวอรวิภา เรียนกระศิลป์, นางสาวกฤติญา กมลคร, นางสาวพรหมพร ศรีสร้อยทองสุก, ผศ.ดร.ดำรงศักดิ์ เป๊กทอง, อ.ดร.สุภาวดี พาหิระ , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
พญาสัตบรรณ มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Alstonia scholaris อยู่ในวงศ์ Apocynaceae สามารถเติบโตได้ในทุกภาคของประเทศไทย พญาสัตบรรณถูกนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรในการแพทย์พื้นบ้านในหลายประเทศ เพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากกระบวนการอักเสบ ใบ เปลือกต้น และรากของพญาสัตบรรณเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการสกัดสารทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่รายงานองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำยางของพญาสัตบรรณยังมีอยู่น้อย ดังนั้นวัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นที่จะวัดองค์ประกอบทางเคมีทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากน้ำยางของพญาสัตบรรณ น้ำยางพญาสัตบรรณสด (4 ลิตร) ถูกสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 โดยปริมาตร โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยในการสกัด จากนั้นสารสกัดหยาบถูกสกัดต่อด้วยวิธีลิควิดลิควิดพาร์ติชัน โดยใช้ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซิเตทและน้ำ เมื่อทำให้สารสกัดแห้งแล้วจะได้สารสกัดหยาบจากเอทานอล (ASL-EtOH, 3.7% yield ของน้ำยางสด) สารสกัดชั้นไดคลอโรมีเทน (ASL-DCM), สารสกัดชั้นเอทิลอะซิเตท (ASL-EtOAc) และสารสกัดชั้นน้ำ (ASL-Water) คิดเป็น 53.8, 5.6 และ 34.7 % yield ของสารสกัดหยาบ สารสกัดทั้งสี่ชนิดถูกนำมาวัดหาองค์ประกอบทางเคมีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้วิธีมาตรฐานทางพฤกษเคมี และทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดโดยวิธี DPPH assay
ผลการทดลองของการหาองค์ประกอบทางเคมีทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณชี้ให้เห็นว่า ASL-EtOH และ ASL-DCM มีสารกลุ่มไตรเทอร์พีนอยด์และฟีนอลิก ปริมาณมาก เท่ากับ 567.8±1.74 และ 572.2±0.52 mg UAE/g extract และ 9.8±1.07 และ 20.9±0.19 mg GAE/ g extract ตามลำดับ ASL-EtOAc และ ASL-Water อุดมไปด้วยสารกลุ่มอัลคาลอยด์และฟลาโวนอยด์ถึง 130.7±7.71 และ 92.6±3.17 µg BCE/g extract และ 37.5±0.20 และ 14.3±1.04 mg RTE/ g extract ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ ASL-EtOH, ASL-DCM, ASL-EtOAc และ ASL-Water ที่ความเข้มข้น 5 mg/ml คือ 25.2±3.96, 63.6±4.74, 94.1±0.96 และ 42.3±0.73 % ในการยับยั้งการทำงานของ DPPH ตามลำดับ ซึ่งฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ ASL-EtOAc สูงกว่าสารสกัดชั้นอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.01). ดังนั้นผลจากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นศักยภาพของน้ำยางของพญาสัตบรรณในการใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในการค้นหาสารทุติยภูมิหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
พญาสัตบรรณ,ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ,องค์ประกอบทางเคมี ,สารทุติยภูมิ |
Abstract |
Alstonia scholaris known as “Payasattaban” in Thai belongs to the family of Apocynaceae. It is grown in all regions of Thailand. It has been used as a medicinal plant in folk medicines in many countries to treat inflammatory related symptom. Its leaves, barks and root have been reported as good sources for bioactive secondary metabolites. However, there were rare reports about the chemical composition and bioactivity of its latex. Thus, this research focused on qualitative and quantitative determination of the chemical constituents and antioxidant activity of the A. scholaris latex extract. The fresh latex (4L) was extracted with 95%v/v ethanol by ultrasonic assistant extraction followed by liquid-liquid partition between dichloromethane, ethyl acetate and water. The supernatant of each layer was dried to obtain ASL-EtOH (3.7% yield of the fresh latex), ASL-DCM, ASL-EtOAc and ASL-Water around 53.8, 5.6 and 34.7 % yield of ASL-EtOH. All four extracts were qualitatively and quantitatively determined for their chemical composition by phytochemical standard protocols. Their antioxidant activities were determined by using DPPH assay.
The results in both qualitative and quantitative determination indicated that ASL-EtOH and ASL-DCM were abundant with triterpenoids and phenolic compounds around 567.8±1.74 and 572.2±0.52 mg UAE/ g extract and 9.8±1.07 and 20.9±0.19 mg GAE/ g extract, respectively. Moreover, ASL-EtOAc and ASL-Water were rich with alkaloids and flavonoids at 130.7±7.71 and 92.6±3.17 µg BCE/g extract and 37.5±0.20 and 14.3±1.04 mg RTE/ g extract, respectively. The antioxidant activities of ASL-EtOH, ASL-DCM, ASL-EtOAc and ASL-Water at the concentration of 5 mg/ml were 25.2±3.96, 63.6±4.74, 94.1±0.96 and 42.3±0.73 % inhibition of DPPH activity. The antioxidant activity of ASL-EtOAc was significantly higher than other extracts (P value < 0.01). Therefore, these results shed light to the latex of A. scholaris to be a good source for discovery of various secondary metabolites with antioxidant activity.
|
Keyword |
Alstonia scholaris,antioxidant activity,chemical constituent,secondary metabolite |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|