บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development of Information Communication and Technology Literacy Skills Test for Pratomsuksa 6 Students, Ratchaburi Primary Education Service Area Office 2
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาววฤณดา กัญญารัตน์กมล ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพในด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่น ของแบบวัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ สำหรับแปลความหมายของคะแนนจากผลการสอบของแบบวัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต  2  จำนวน  400 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2 เป็นแบบวัดปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และเกณฑ์ปกติ
            ผลการวิจัยพบว่า
            1. ได้แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 50 ข้อ ครอบคลุมตามตัวชี้วัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามองค์ประกอบของการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เชื่อมโยงกับทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  งานวิจัยในประเทศ และต่างประเทศ ที่ผ่านการสังเคราะห์แล้ว ได้ตัวชี้วัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งหมด 5 ตัวชี้วัด
            2. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบอยู่ระหว่าง .60 ถึง 1.00 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .20 ถึง .67 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20 ถึง .67 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92
            3. เกณฑ์ปกติของแบบวัดความฉลาดรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนทีปกติตั้งแต่ T_20 ถึง T_78
 คำสำคัญภาษาไทย การพัฒนาแบบวัด,การพัฒนาแบบทดสอบ,ความฉลาดรู้,เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 Abstract
The purposes of this research were 1) to development of information communication and technology literacy skills test for Prathom Sueksa 6 students, 2) to examine the quality of the content validity, difficulty, discrimination, and reliability of the information communication and technology literacy test, and 3) to create the norms of the information communication and technology literacy skills test for Prathom Sueksa 6, Ratchaburi Primary Education Service Area Office 2. The samples were 400 students in Prathom Sueksa 6, Ratchaburi Primary Education Service Area Office 2 who studied in the academic year 2018, by multi-stage random sampling. The research instrument was the information communication and technology literacy skills test for students of Prathom Sueksa 6, Ratchaburi Primary Education Service Area Office 2, which has multiple choice type test with 4 choices totaling 50 questions. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation, content validity, difficulty, discrimination, reliability, and norms.
The results were as follows:
1.The information communication and technology literacy skills test for Prathom Sueksa 6 students, Ratchaburi Primary Education Service Area Office 2 contains multiple choice totaling 50 questions, which include the information communication and technology literacy skills content for Prathom Sueksa 6 students  according to the components of literacy of information and communication technology that is linked to learning skills in the 21st century. Research in the country. And abroad That has been synthesized Received 5 indicators for knowledge, information and communication technology.
2.The content validity of the test were in a range of .60-1.00, the difficulty were between .20-.67, discrimination were between .20-.67, and reliability was .92.
3.The general criteria of the numeracy test was showed T-score between T_20 - T_78.
 Keyword Test,information communication and technology,Literacy
 กลุ่มของบทความ วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563