บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง การรักษาดุลยภาพในร่างกาย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Effects of Learning Management Using Inquiry Method (5E) with Graphic Organizing Technique on Learning Achievement in the Topic of Homeostasis and Integrated Science Process Skills of Mathayom Suksa V Students in Buri Ram Province |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวมณฑกานต์ ยืนนาน , รศ.ดร.ดวงเดือน สุวรรณจินดา, รศ.ดร.จุฬารัตน์ ธรรมประทีป, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกกับของนักเรียนที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามปกติ และ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนดังกล่าวที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกกับของนักเรียนที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 32 คน ใน 2 ห้องเรียนที่จัดนักเรียนแบบคละความสามารถ ของโรงเรียนเมืองโพธิ์ชัยพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจับสลากให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิก และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสูงกว่าของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การสืบเสาะหาความรู้,เทคนิคผังกราฟิก,ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน,ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ |
Abstract |
The purposes of this research were 1) compare science learning achievement of Mathayom Suksa V students in Buri Ram province, who learned under the inquiry method (5E) with graphic organizing technique, with that of the students who learned under the traditional teaching method; and 2) compare integrated science process skills of the students who learned under the inquiry method (5E) with graphic organizing technique with that of the students who learned under the traditional teaching method. The research sample consisted of 32 Mathayom Suksa V students in two intact heterogeneous classrooms of Mueang Phochai Pitthayakhom School in Buri Ram province, obtained by cluster random sampling. One classroom was randomly assigned as the experimental group to learn under the inquiry method (5E) with graphic organizing technique; while the other classroom, the control group to learn under the traditional teaching method. The employed research instruments included 1) learning management plans for the inquiry method (5E) with graphic organizing technique; 2) learning management plans for the traditional teaching method; 3) a science learning achievement test; and 4) an assessment scale for integrated science process skills. Statistics for data analysis were the mean, standard deviation, and t-test.
Research findings showed that 1) the post-learning science learning achievement of Mathayom Suksa V in Buri Ram province, who learned under the inquiry method (5E) with graphic organizing technique, was significantly higher than that of the students who learned under the traditional teaching method at the .01 level of statistical significance; and 2) the integrated science process skills of the students who learned under the inquiry method (5E) with graphic organizing technique was significantly higher than those of the students who learned under the traditional teaching method at the .01 level of statistical significance.
|
Keyword |
Inquiry method,Graphic organizing technique,Learning achievement,Integrated science process skills |
กลุ่มของบทความ |
หลักสูตรและการสอน |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|