บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมือง ของชุมชนบ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Communication to Convey Wisdom Traditional Weaving of Ban Na Pa Nat Community, Chiang Khan District, Loei Province. |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นายภคพล รอบคอบ , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาดหมู่ 12 อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย ศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดการสนทนากลุ่ม รวมถึงการสังเกตุการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ด้วยวิธีการดังกล่าวนำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ช่างทอผ้า กลุ่มผู้สูงวัยและกลุ่มผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ในชุมชน
ผลการศึกษาพบว่า (1)ด้านผู้ส่งสาร พบว่า การสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองใช้การบอกเล่าแบบปากต่อปากร่วมกับการสาธิตและการลงมือทำให้ดู และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ่านการแสดงพื้นบ้าน (2)ด้านเนื้อหาสาร พบว่า เนื้อหารสารเน้นการให้สังเกตุการณ์กระทำ การทำให้เห็นหรือการลงมือทำด้วยตนเอง (3)ด้านช่องทางการสื่อสาร พบว่า ช่องทางการสื่อสารเน้นไปที่การสื่อสารผ่านตัวบุคคล การสื่อสารแบบปากต่อปาก และการสื่อสารผ่านเสียงตามสายภายในชุมชน การสื่อสารผ่านไลน์แอพพลิเคชั่น และการสื่อสารผ่านการจัดการประชุมเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ (4)ด้านผู้รับสาร พบว่า ผู้รับสารในชุมชนรับสารจากครูภูมิปัญญา ปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชนและการบอกต่อจากสมาชิกในชุมชน โดยร่วมกันอนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั่งเดิมให้อยู่ภายในชุมชนและยังโน้มน้าวลูกหลานร่วมกันเรียนรู้วิถีชีวิตดั่งเดิมให้ผสมกลมกลืนกับยุคสมัย
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การสื่อสาร,ถ่ายทอดภูมิปัญญา,ทอผ้าพื้นเมือง |
Abstract |
This research aimed to study the communication to convey wisdom traditional weaving of Ban Na Pa Nat Community Village, Moo.12, Chiang Khan District, Loei Province. The study of qualitative research methods consisted of in-depth interviews, Focus group discussion, and Non-participatory observation. The above method is used to collect primary data, which is field data collection. The key informants consisted of weavers, the elderly and adult groups, as well as including children and new generation in the community.
The research study has found that (1) The Sender found that communication for the transfer of local weaving wisdom by using word of mouth with the demonstration and action and knowledge is transferred through folk performances. (2) The content found that the substance content emphasizes on observing actions by showing or acting on your own (3) The Communication Channel found that communication channels focus on personal communication, word of mouth communication, and communication through Public Address System in Community. Communication through line applications and Communication through conference for carrying out activities. (4) The Receiver found that recipients in the community receive messages from wisdom teachers, community sages, community leaders, and word-of-mouth community members by conserving their traditional way of life, culture, and persuading children to learn traditional way of life to integrate into the modern era.
|
Keyword |
Communication,Convey wisdom,Traditional weaving |
กลุ่มของบทความ |
นิเทศศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|