บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ประสิทธิผลของหมากฝรั่งผสมสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต ต่อการป้องกันฟันผุในเด็กวัยเรียน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Effectiveness of Chewing Gum Containing Casein Phosphopeptide - Amorphous Calcium Phosphate (CPP-ACP) on Dental Caries Prevention in Students
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นายมารุต ภู่พะเนียด , นางสาวจันทภา จวนกระจ่าง, นางสาวธีรนุช การป๊อก, นายสิรามล นิลกำเนิด,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตต่อการป้องกันฟันผุในเด็กวัยเรียน โดยการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน กลุ่มตัวอย่างได้เคี้ยวหมากฝรั่งที่ผสมสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต (CPP-ACP) ครั้งละ 1 เม็ด เป็นเวลา 10 นาที วันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้า และตอนก่อนเลิกเรียน โดยมีคุณครูเป็นผู้ควบคุมดูแล เก็บข้อมูลโดยการตรวจสุขภาพช่องปากก่อนทดลอง 1 ครั้ง และหลังการเคี้ยวหมากฝรั่งที่ผสมสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตในสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 โดยใช้แบบบันทึกผลการตรวจโรคฟันผุ และแบบบันทึกคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon signed rank test และ Friedman test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตนักเรียนมีฟันผุไม่เพิ่มขึ้น และภายหลังได้รับสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต นักเรียนมีปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันลดลงกว่าก่อนได้รับสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต สรุปได้ว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตสามารถควบคุมคราบจุลินทรีย์ และการเกิดฟันผุ ดังนั้นการเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตกับเด็กนักเรียนจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยป้องกันฟันผุ
 คำสำคัญภาษาไทย คราบจุลินทรีย์, ฟันผุ, เคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต (CPP-ACP)
 Abstract
This study was quasi-experimental research to study the effectiveness of Casein Phosphopeptide-Amorphous Calcium Phosphate (CPP-ACP) on dental caries prevention and dental plaque control in students. The sample consisted of 21 students. Students were chewed chewing gum containing CPP-ACP 2 times per day (morning and afternoon), 1 tablet each time and chewing for 10 minutes with 12 weeks trial. Data were collected 4 times: before the experiment and 4, 8 and 12 weeks after the experiment. Data collected include dental plaque and tooth decay. Data were analyzed by mean, standard deviation, Wilcoxon signed rank test and Friedman test. The results showed that after the experiment, students did not increase tooth decay and significantly reduced dental plaque compared to before the experiment (Sig. 0.05). In conclusion, chewing gum containing CPP-ACP can control dental plaque and tooth decay, therefore it is an alternative way to prevent tooth decay.
 Keyword Dental plaque, Dental caries, Casein Phosphopeptide-Amorphous Calcium Phosphate (CPP-ACP)
 กลุ่มของบทความ การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563