บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจีในรายวิชาชีวสถิติและวิทยาการระบาด
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Instruction Design based on Andragogy Concept in Biostatistics and Epidemiology subject
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.ดร.พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม , นางสาวพลอยประกาย ฉลาดล้น,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจีในรายวิชาชีวสถิติและวิทยาการระบาด 2) ประเมินผลการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจีในรายวิชาชีวสถิติและวิทยาการระบาด โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 74 คน ซึ่งถูกเลือกอย่างเจาะจง การออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจี 7 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน 2) การสร้างกลไกต่างๆ เพื่อให้เกิดการวางแผนการเรียนรู้ 3) การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน 4) การกำหนดจุดมุ่งหมาย 5) การออกแบบหรือกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้  6) การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ และ 7) การประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบความรู้รายวิชาชีวสถิติและวิทยาการระบาด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ pair t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจีในรายวิชาชีวสถิติและวิทยาการระบาด ผู้เรียนมีความรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D.=0.27)
 คำสำคัญภาษาไทย การออกแบบการเรียนการสอน, แอนดราโกจี, ชีวสถิติและวิทยาการระบาด
 Abstract
The purpose of this study was to 1) instruction design based on Andragogy concept in Biostatistics and Epidemiology, 2) evaluate the learning outcomes according to Andragogy concept in Biostatistics and Epidemiology. The samples were 74 of bachelor nursing students by purposive selection. The activities developed by Andragogy theory which has 7 levels; 1) The establishment of climate conducive to adult learning, 2) the creation for participative planning 3) diagnosis of needs for learning 4)  the formulation of direction of learning 5) the development of design of activities 6) the operation of activities and 7) the rediagnosis of learning.  The research tools applied this study were knowledge measurement. Data were analyzed by using mean, standard deviation and pair t-test. The results revealed that after teaching according to Andragogy concept in Biostatistics and Epidemiology. The students' knowledge increased significantly (p <0.05) with the highest satisfaction (= 4.67, S.D. = 0.27).
 Keyword instruction design, Andragogy, Biostatistics and epidemiology
 กลุ่มของบทความ หลักสูตรและการสอน
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563