บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การศึกษาเปรียบเทียบการซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook และ Instagram |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
A Comparative Study of Online Clothing Buying Behavior via Facebook and Instagram |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวฌานิสรา สารีพันดอน , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook และ Instagram และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook และ Instagram รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด และ ทฤษฎีเกี่ยวกับช่องทางการตลาดเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่ดำเนินการวิจัยคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 386 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ตารางแจกแจงความถี่ 2) ค่าร้อยละ และ 3) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงปริมาณ Independent Simple T-Test ANOVA
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพที่ แตกต่างกัน ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook และ Instagram ซึ่งผู้ตอบ แบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook มากกว่าเลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทาง Instagram
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจที่จะทำการค้าขายเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook และ Instagram เพราะในปัจจุบันผู้คนนิยมทำการซื้อขายเสื้อผ้าผ่านออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบายและเสื้อผ้ามีหลากหลายรูปแบบให้เลือกซื้อ ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังสนใจที่จะทำการขายเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
เสื้อผ้าออนไลน์,เฟซบุ๊ค,อินสตาแกรม |
Abstract |
The objective of this research were; 1) To study clothing buying habits online via Facebook and Instagram. 2) To study the comparison of buying clothes online via Facebook and Instagram. The research model is quantitative research. Use the theory of demography. Theory about consumer behavior The theory about marketing mix and marketing channel theory is a research framework. The research area is Nakhon Pathom Rajabhat University. The samples were people buy 386 sets online clothes in Facebook and Instagram before. Use a simple random selection method. The research instruments were 1) frequency 2) percentage and 3) arithmetic mean. Data were analyzed using quantitative statistics. Independent Simple T-Test ANOVA. The research found that most of the respondents were between 18-28 years old. The educational level of the sample group found that it was Bachelor's Degree And most are students, whose average monthly income is between 5,001 - 10,000 baht. The hypothesis testing found that demographic factors are age, education level Different occupations It does not affect the decision to buy clothes online via Facebook and Instagram. Most respondents prefer buying clothes online via Facebook rather than choosing to buy clothes via Instagram. The knowledge from this research will be useful to entrepreneurs or those interested in trading clothes online via Facebook and Instagram, because nowadays, people are increasingly buying clothes online. Because it is comfortable and there are many styles of clothes to choose from This research may be part of the decision making process for new entrepreneurs who are interested in selling clothes online.
|
Keyword |
Clothing,Facebook,Instagram |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|