บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ความพร้อมในการศึกษาออนไลน์: กรณีศึกษาในช่วงระยะเวลาการระบาด COVID-19 ในประเทศไทย
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Student Readiness for Online Learning: A Case Study of COVID-19 Outbreak in Thailand
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) ผศ.ดร.อนงนาฏ เพชรประเสริฐ ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
หลังจากที่องค์การอนามัยโลก หรือ the World Health Organization (WHO) ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคระบาดทั่วโลก ทำให้การจัดการศึกษาในหลายประเทศมีการปรับให้สอดคล้องกับการป้องกันโรค โดยมีการยกเลิกการเข้าชั้นเรียนแล้วเปลี่ยนเป็นการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งประเทศไทยได้มีการประกาศในทิศทางเดียวกัน เพื่อการจัดการศึกษาให้เหมาะกับสถานการณ์ และลดการระบาดของเชื้อไวรัสต่อนักศึกษาและไม่ให้นำไปสู่การระบาดในชุมชน ด้วยเหตุนี้ การวิจัยนี้จึงได้ศึกษาถึงความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 53 คน ผลการศึกษานี้ได้จากการสอบถามในเรื่องอุปกรณ์ที่นักศึกษาจะใช้ในการศึกษาออนไลน์ในภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562 และความคุ้นเคยหรือประสบการณ์ในการใช้ applications ต่าง ๆ รวมถึงความกังวลที่นักศึกษามีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ โดยนักศึกษามีความประสงค์ที่จะเข้าถึงระบบ Wi-Fi และกังวลเรื่องการสื่อสารกับผู้สอนเป็นส่วนใหญ่
 คำสำคัญภาษาไทย การศึกษาออนไลน์ โควิด-19 การเรียนการสอน
 Abstract
After of the World Health Organization’s designation of the Coronavirus or COVID-19 as a pandemic in early March 2020, many countries have been aware of the rapid spread of the disease. One of most serious concerns is about instructional management in their countries. Likewise, Thai government has launched an official announcement in relation to this crisis affecting universities across Thailand cancel all in-person classes. Since teaching and learning process has been rapidly changed, student readiness for distance learning has been focused and concerned. Consequently, this study examined student readiness for online learning during the COVID-19 pandemic. The participants were English-major students from a university in Bangkok, Thailand. By using an online questionnaire, the participants’ background information about the uses of electronic devices and applications in learning, their perceptions of online learning as well as factors that most worried them in an online learning environment were investigated. Overall, this case study reveals the participants’ lifestyles in utilizing digital technology and educational applications. A majority of the participants reported that accessibility of Wi-Fi and fewer opportunities to have a two-way communication between lecturers and students were their most concerns. The findings suggest that university administrators should look at making Wi-Fi available and accessible at all times.
 
 Keyword Online learning, COVID-19, Teaching and learning
 กลุ่มของบทความ หลักสูตรและการสอน
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563