บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาล พระนครศรีอยุธยา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Changing strategy to strengthen the competitive advantages of Traditional retail businesses in Ayutthay municipal Area
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวอภิชยา นิเวศน์ ,
 บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยเรื่องกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาล พระนครศรีอยุธยา  มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบจากการดำเนินงานของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม(2)เพื่อศึกษาการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาล พระนครศรีอยุธยา  โดยการศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมจำนวน12 ราย ได้แก่ หัวรอ หอรัตนไชย ประตูชัย ท่าวาสุกรี กะมัง คลองสวนพลู เกาะเรียน หันตรา บ้านเกาะ บางปะอิน คานหาม บ้านสร้าง

          จุดแข็งของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตเทศบาล พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ร้านค้าอยู่ในทำเลที่ดีใกล้แหล่งชุมชนและผู้บริโภคผู้ประกอบการเป็นผู้บริหารงานด้วยตัวเอง

            จุดอ่อนของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตเทศบาล พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมมีบริเวณพื้นที่ร้านที่จำกัด คับแคบไม่กว้างขวาง ไม่มีบริเวณที่จอดรถ สินค้าและการบริการไม่มีความหลากหลาย ผู้ประกอบการขาดความเข้าใจในการบริหารงานสมัยใหม่

             โอกาสของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเทศบาลพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ความนิยมของลูกค้าที่มีต่อสินค้าขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีราคาถูก ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทำให้เกิดลูกค้าประจำที่จงรักภักดี  และนิยมใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม และมีกระแสต่อต้านธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่   ซึ่งเป็นคู่แข่งขัน

              ข้อจำกัดของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเทศบาลพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ขยายสาขาเพิ่มเป็นจำนวนมากและรวดเร็ว สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้กำลังซื้อลดลง    ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความก้าวหน้ามากขึ้นและรวดเร็ว ทัศนคติของผู้บริโภคร้านค้าปลีกเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ นิยมใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่มากขึ้น

             ปัญหาของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเทศบาลพระนครศรีอยุธยา คือ ไม่สามารถดำเนินกลยุทธ์ราคาต่ำ ไม่สามารถทำการโฆษณาและการส่งเสริมการขายได้ต่อเนื่อง   ตลอดปี สินค้าไม่มีความหลากหลายและไม่มีศูนย์บริการที่ครบวงจร เงินทุนหมุนเวียนน้อย ต้นทุน   การดำเนินงานสูง ผู้ประกอบการขาดความเข้าใจในการบริหารงานสมัยใหม่ ความช่วยเหลือจากทางภาครัฐค่อนข้างช้า ซึ่งผลกระทบคือ ยอดขายลดลง ทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง และต้องลดปริมาณสินค้าคงคลัง

 
 คำสำคัญภาษาไทย กลยุทธ์การปรับตัว , ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม, ความได้เปรียบในการแข่งขัน
 Abstract

   This study was on Problems and Strategic Adjustments of Traditional Retailers  in Ayutthaya District, Ayutthaya. The objective of this study is  (1)  to study the problems and effects from the operation of modern retailers towards traditional retailers, (2)  to study strategic adjustments of the traditional retailers in Ayutthaya District, Ayutthaya. This study conducted in-depth interviews of 12 traditional retailing entrepreneurs Tambon Hua Ro Parish Hall Ratanchaikanont District Goals Tha Naga District Kamang Klong Plu  Ko study Distrcit Hunta  Ban ko  Village Lane  District  Poles  Parish  House 12 Distrcit inciude.

              The strengths of the traditional retailers in Ayutthaya District Ayutthaya. were noted. They had a good location which was close to communities and consumers. The entrepreneurs managed and operated their business on their own, so they could offer fast services and problem-solving solutions. The entrepreneur could remember    profiles even if they did not record customer database.

              In contrast, the weakness of the traditional retailers in Ayutthaya District, Ayutthaya. were discussed. There were  limited and confined space and no parking areas. There were not various kinds of products and services. The decoration was not modern. The  entrepreneurs did not understand modern management.

             According to the finds, it was found that opportunities of the traditional retailers in Ayutthaya municipal Area  were presented as follows. The low price of small and medium size products was in high demand. There were located in communities with a large population and was to create relationships with clients resulting in repeat customers and were client who preferred service from the traditional retailers. In addition, there was protest against modern trade which was the traditional retailer competitor.

              Threats of the traditional retailers in Ayutthaya municipal Area. were mentioned. The modern retail were outlets and a lot faster. Economic recession had caused a decrease in purchasing power. Modern technology has progressed, more and faster. On the other hand, they favored using services from the modern retailers.

        In contrast, the weakness of the traditional retailers in  Ayutthaya municipal Area. were discussed. There were had limited and confined space had not parking area. There were not various kinds of products and services. The decoration was not modern. The use of new technologies in operating their business was rare. Capital was limited, so they could not expand or their stores. Closed time to serviced was faster than modern retailers. Furthermore, there was no sale promotion, which influenced the buying decision, and the entrepreneurs themselves did not conduct any marketing research.

         The followings were problems of the traditional retailers in Ayutthaya municipal Area.  The entrepreneurs could not use low-price strategy, all year round advertising and promotion. There were not various kinds of product, and one-stop service centers. The capital was limited while operating costs were high. The entrepreneurs did not understand modern management. The government delayed their helping which caused  the decrement of sales. The consequence were also decreased working capitol

 
 Keyword Changing strategy, Traditional retail businesses, competitive advantages
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563