บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนส้มโอ
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Health problems in Pamelo’s agriculturist
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.มาลินี จำเนียร , อ.วาร์ธินีย์ แสนยศ, อ.ภาศินี สุขสถาพรเลิศ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนส้มโอ    และเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพของ
เกษตรกรที่ใช้และไม่ได้ใช้ วิธีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี : GAP กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรชาวสวนส้มโอ 400 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแนวคำถามเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าปัญหาสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนส้มโอที่ใช้และไม่ได้ใช้ GAP ไม่แตกต่างกัน การปลูกส้มโอแบบ GAP คือเกษตรกรปลอดภัย ไม่ใช่ปลอดสารพิษ สามารถใช้สารเคมีได้แต่หยุดใช้ก่อนเก็บตามกำหนด จะมีสารตกค้างอยู่แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ปัญหาสุขภาพที่พบในเกษตรกรชาวสวนส้มโอคือปวดเมื่อยตามร่างกาย เครียด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย น้อคยา เจ็บป่วยเรื้อรัง  ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวและปัญหาจากการทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ สำหรับพฤติกรรมในการป้องกันก่อนใช้ยาฆ่าแมลงใช้อุปกรณ์ป้องกันครบชุด ส่วนการปฏิบัติตัวหลังใช้ยามีการล้างมืออาบน้ำสระผมทุกครั้ง ความต้องการในการดูแลสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนส้มโอนั้น เกษตรกรไม่เห็นความสำคัญในการตรวจร่างกายประจำปี นอกจากที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้วจำเป็นต้องไปหาหมอเป็นประจำ หรือเมื่อมีโรคประจำตัวก็จะมีการตรวจสุขภาพประจำปี
ข้อเสนอแนะ. นำผลการวิจัยไปวางแผนการทำงานพัฒนานโยบายด้านการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรตามบริบทของสังคม และการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทำสวนส้มโอในพื้นที่
 คำสำคัญภาษาไทย คำสำคัญ : ปัญหาสุขภาพ เกษตรกรชาวสวนส้มโอ วิธีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี : GAP
 Abstract
The purpose of the research was to study health problems included health care in pamelo’s agriculturists and compare health problems of them who used and didn’t used GAP . The sample comprised of 400 pamelo’s agriculturists by purposive sampling. The tool was used by questionnaire and interview guideline. Data were collected by interviewing and focus group discussion. Data analyzed by descriptive, t-test and qualitative data used content analysis.
            The results founded that the health problems of them who used and didn’t used GAP were not different. The pamelo’s agriculturist who used GPA means safe, not only use chemicals but also stop using before storing for a specified period of time. There will be residue but not more than standard. The most health problems of them is malaise, stress, chronic illness, economic problems, social problems, family problems both physically and mentally. For health care behavior pamelo’s agriculturist wear protective equipment before used insecticide. They wash hands then shower and wash hair every time after used insecticide. The potential  health  needs has to take care of themselves and their families. They ignore annual physical examination unless they have health problems then they go to see the doctor regularly. The physical health check-up will be added when they have diseases.
Recommendation suggested that sub-district administrative organization and district health promotion hospital  used to do action plan for develop health policy and occupation.
 Keyword Keywords : health problems, Pamelo’s agriculturist, Good agriculture practice : GAP
 กลุ่มของบทความ การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563